อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
อำนาจหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 45 กำหนดว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดดังนี้
– ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
– จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนด
– สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
– ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
– แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
– อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
– คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– จัดทำกิจการอื่นใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกัน ดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ดังนี้
– จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
– กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– บำบัดน้ำเสีย
– บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– วางผังเมือง
– จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงขนาดตามกฏหมาย ว่าด้วยทางหลวง
– จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ
– จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด
– ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
– จัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
– จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะและ สวนสัตว์ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมสำหรับราษฎร
– จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ
– ป้องกันและบำบัดรักษาโรค
– จัดตั้งและการบำรุงสถานพยาบาล
– ส่งเสริมการท่องเที่ยว
– ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ
– กิจการที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดอำนาจหน้าที่ ไว้ดังนี้
– การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
– ได้รับความยินยอมจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
– ได้รับความยินยอมจากสภาแห่งราชการส่วนท้องถิ่นหรือสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจได้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 17 กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ดังนี้
– การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
– การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
– การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
– การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
– การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– การจัดการศึกษา
– การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
– การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
– การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
– การจัดตั้งดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
– การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
– การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
– การจัดการดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
– การส่งเสริมการท่องเที่ยว
– การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นจากสหการ
– การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่น
– การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
– การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
– การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
– การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
– การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
– การป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
– การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
– การจัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต กิจการนั้น เป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
– สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนา
– การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่น
– การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
– จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็น และหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
– กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศเกี่ยวกับ อบจ.